การขึ้นระบบ ERP มีค่าใช้จ่ายอะไรบ้าง ? องค์ประกอบของระบบ ERP คืออะไร
ANS 1:
1. ค่า Software ขึ้นอยู่กับความต้องการใช้งาน และจำนวนผู้ใช้งานระบบของแต่ละธุรกิจ โดยแต่ละ Software จะมีการคิดค่าใช้จ่ายในแต่ละส่วนต่างกันออกไป ยกตัวอย่างเช่น
• รูปแบบของ License
- Concurrent User คือ จำนวนผู้ใช้ที่เข้าใช้งานระบบ ERP ได้พร้อม ๆ กัน เช่น ท่านลูกค้าซื้อจำนวนผู้ใช้งาน 5 Users เท่ากับว่าในเวลานั้นๆ สามารถเข้าใช้งานระบบ ERP พร้อมๆ กัน 5 ท่าน หากท่านที่ 6 ต้องการเข้าใช้งานจำเป็นต้องแจ้ง Admin ผู้ดูแลระบบเพื่อให้จัดระบบการใช้งาน ทั้งนี้ท่านลูกค้าสามารถตั้ง Username ได้มากกว่า 5 Users เช่น ระบบของ Sage 300
- Name User คือ กำหนดผู้เข้าใช้งานระบบ ERP เป็นรายบุคคล โดยการตั้ง User name ตามชื่อบุคคลนั้นๆ ผู้ที่ไม่มีชื่อ จะถือว่าไม่มีสิทธิ์เข้าใช้งานระบบ เช่น ระบบของ Microsoft , SAP Business One
• รูปแบบของโครงสร้างระบบ
- By Modules สามารถเลือกซื้อเฉพาะ Module ที่ต้องการใช้งานได้อาทิเช่น Production, Accounting, Sales, Inventory เป็นต้น แต่ Module ที่ถือเป็นหัวใจสำคัญในการขับเคลื่อนระบบ ERP คือ System Manager
- แบบ Total Business Platform เป็นรูปแบบของ Software ครอบคลุมในทุก Business Process และเป็น Platform ที่สามารถนำ Innovative Application มาเชื่อมต่อใช้งานในธุรกิจในการทำ Cloud Technology, Analytics, Mobile Technology และ Big Data เช่น SAP Business One และ Sage X3 เป็นต้น
• Add On Solution เช่น
- Serialized Inventory & Lot Tracking - Purchasing Work Flow
- Project and Job Costing - Document Distribution
- Warehouse System - Resource Manager
- Barcode System
2. Server Specification
การวางระบบ Server ที่สามารถใช้งานได้ทั้งแบบ On Premise และ On Cloud ซึ่งมีทั้งข้อดี และข้อเสียแตกต่างกันออกไป
- Server Specification การเลือก server สามารถดูได้จากขนาดของ Users และข้อมูลของเอกสารที่ต้องการเก็บ โดยราคาประมาณ 300,000 - 400,000 บาท
- Cloud Option นอกจากการใช้งานระบบ ERP บน Server แล้ว ปัจจุบันธุรกิจส่วนใหญ่เริ่มให้ความสนใจ และหันมาใช้งานในระบบ ERP บน Cloud มากขึ้น ซึ่งมีผู้ให้บริการ Cloud ทั้งในประเทศไทย และต่างประเทศ โดยราคาประมาณ 20,000 บาท ต่อเดือน
ข้อดีของการใช้งานระบบ ERP บน Cloud
1. ไม่เสียค่าใช้จ่ายในการซื้ออุปกรณ์ Hardware และค่าจ้างพนักงาน IT
2. ผู้ให้บริการ Cloud จะเป็นผู้ดูแล Hardware, Update เทคโนโลยีใหม่ และจัดการปัญหา Antivirus
3. ผู้ให้บริการ Cloud ช่วย Backup ข้อมูลอย่างสม่ำเสมอ และหากลูกค้าต้องการ Download ข้อมูล ในส่วนนี้อาจมีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม
3. ค่าการสอนการใช้งาน (Training)
จัดตารางการสอน และเวลาตามความสะดวกของท่านลูกค้าโดยทีม Consult ผู้มีประสบการณ์ในการ Implement ระบบ ERP และมีความเข้าใจใน User และรูปแบบธุรกิจของลูกค้า หลังจากการ Training เรียบร้อย ทีม Consult จะให้ User ทดสอบการกรอกข้อมูล และการใช้งาน (Practice)โดยระหว่างนี้ ทีม Consult ก็จะนั่งประจำที่ออฟฟิศลูกค้า เพื่อคอย Support ปัญหาที่เกิดขึ้น เมื่อ User สามารถใช้งาน และทำงานได้เป็นปกติแล้วจึงเข้าสู่ช่วง Run Live Demo
4. ค่า MA (Maintenance Assurance) คือ ค่าใช้จ่ายที่ทางบริษัทแม่ (Sage, SAP, และ Microsoft) นำไปใช้ทำ R&D (Research and Development) เพื่อพัฒนา Feature ใหม่ๆ รวมถึง Localization ต่างๆ ที่เกิดขึ้น
5. ค่า Technical Support จากผู้ให้บริการ เช่น ฟอร์เวิร์ด แมเนจเม้นท์ เซอร์วิส จำกัด (FMS) เพื่อในการ Support แก้ไข รายงานของลูกค้า การปรับการใช้งาน SAP Business One และ Sage ให้ตรงตามสรรพากร และการตอบปัญหาที่เกิดขึ้น ผ่านทางโทรศัพท์ ส่ง E-mail และ Team Viewer
ทั้งนี้สำหรับในช่วงก่อนการขึ้นระบบ ERP: SAP Business One, Sage 300 และ Sage X3 บางบริษัทอาจจะต้องการคำปรึกษา การจัดระบบบัญชีตามหลักการที่ถูกต้อง บริษัท ฟอร์เวิร์ด แมเนจเม้นท์ เซอร์วิส จำกัด มีการบริการให้คำปรึกษาด้านธุรกิจ ตั้งแต่การวางแผน การสร้าง Business Workflow ที่ถูกต้อง เหมาะสม ลดต้นทุน เพื่อให้การทำงานโปร่งใส
เนื่องจากธุรกิจที่มีความแตกต่างกัน FMS จึงได้พัฒนา และออกแบบ Solution ให้มีความยืดหยุ่นในการใช้งาน คุณจึงสามารถเลือกใช้งานให้เหมาะกับรูปแบบธุรกิจของคุณได้
เกี่ยวกับ Product ของ FMS เพิ่มเติมได้ที่: http://www.fmsconsult.com/en/solutions.html
หากมีข้อสงสัยเพิ่มเติมสามารถติดต่อได้ที่เบอร์ 02 274 4070 (คุณวุฒิพร)
หรือที่ E-Mail : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.
สำหรับบทความอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
- On Premise และ On Cloud แตกต่างกันอย่างไร ?