ERP (Enterprise Resource Planning)

ทำความเข้าใจกับ Cloud Computing

 

 

ทำความเข้าใจกับ Cloud Computing 

ในปัจจุบันการเข้ามาของ Cloud Computing ให้บริการและการใช้งานทรัพยากรคอมพิวเตอร์ที่ออกแบบให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึงและใช้งานได้ผ่านทางอินเทอร์เน็ต โดยไม่ต้องเป็นเจ้าของหรือจัดเก็บทรัพยากรในเครื่องคอมพิวเตอร์หรือโครงสร้างพื้นฐานที่ตั้งที่ตนเอง โดยที่ Server แบบเก่าจะมีปัญหามากมาย เช่น ช้าและดูแลยาก ค่าใช้จ่ายในการดูแลที่สูงในสมัยก่อน Application จะอยู่ใน Server ของผู้พัฒนา แต่ต่อมาได้มีการใช้ VM มากขึ้นแต่ยังคงมีปัญหาในเรื่องของความเสถียรอยู่ แต่ในปัจจุบัน การเข้ามาของ Cloud computing จึงนำมาแก้ไขปัญหาเหล่านี้โดยการนำ Application เข้าไปอยู่ในระบบโดยที่ไม่จำเป็นต้องมี Server เป็นของตนเอง

 

คุณลักษณะของ Cloud Computing จะสามารถแยกเป็นหัวข้อได้ ดังนี้
บริการตนเองตามความต้องการ

เข้าถึงได้ง่าย การใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ ความยืดหยุ่นที่รวดเร็ว ทรัพยากรได้รับการวัดและผู้ใช้ได้รับค่าในการเรียกใช้ตามการใช้งานจริง 

แบบจำลองบริการ (SaaS, PaaS, IaaS)

Infrastructure as a Service (IaaS) นำเสนอพื้นที่ทำงานแบบเสมือนจริงที่สามารถปรับแต่งได้ตามความต้องการของผู้ใช้ เช่น การให้บริการ Server เครือข่าย และพื้นที่จัดเก็บข้อมูล.

Platform as a Service (PaaS) ให้พื้นที่ทำงานแก่นักพัฒนาโปรแกรมในการสร้างและนำเสนอแอปพลิเคชันโดยไม่ต้องกังวลเกี่ยวกับโครงสร้างพื้นฐาน.

Software as a Service (SaaS) ให้บริการแอปพลิเคชันที่เปิดให้ใช้งานผ่าน Web browser โดยไม่ต้องติดตั้งและดูแลเอง

 

On Premises

IaaS

PaaS

SaaS

Application

Application

Application

Application

Data

Data

Data

Data

Runtime

Runtime

Runtime

Runtime

Middle ware

Middle ware

Middle ware

Middle ware

O/S

O/S

O/S

O/S

Virtualization

Virtualization

Virtualization

Virtualization

Servers

Servers

Servers

Servers

Storage

Storage

Storage

Storage

Networking

Networking

Networking

Networking

จากตารางการเปรียบเทียบ ช่องสีฟ้าคือสิ่งที่เรา(ผู้ใช้งาน) ต้องดูแล และ สีเขียวสิ่งที่ผู้ให้บริการดูแลให้

 

การเลือกเทคโนโลยี Server ในรูปแบบเดิม

Physical Servers แบบเดิมมักมีประสิทธิภาพที่คาดเดาได้ ปลอดภัย และสามารถปรับแต่งได้ตามความต้องการแต่ การดูแลบำรุงรักษา Physical Servers มักต้องมีการดูแลที่ซับซ้อน ต้องมีความระมัดระวังสูง และราคาในการเป็นเจ้าของก็สูงเช่นกัน

Virtualization ทำงานอยู่บนเครื่องจำลองเสมือน virtual machines (VMs) ทำให้หลายๆ แอปพลิเคชันสามารถทำงานได้พร้อมๆกันและจัดการทรัพยากรภายในเครื่องได้อย่างเหมาะสม แต่ virtualization นั้นมีความซับซ้อนเป็นอย่างมาก และประสิทธิภาพคาดเดาได้ยาก เนื่องจากแอปพลิเคชันจะต้องจัดสรรทรัพยากรกันเอง

Container จะมีความคล้ายคลึงกับ virtualization แต่แอปพลิเคชันจะแยกทรัพยากรและการทำงาน ตามที่ได้จัดสรรทรัพยากรไว้แล้วจึงทำให้ไม่เกิดการแย่งทรัพยากรกัน แต่เทคโนโลยีนี้ก็ไม่ได้เหมาะกับทุกแอปพลิเคชันถ้าหากหลายๆแอปพลิเคชันต้องทำงานร่วมกัน

A diagram of a server

Description automatically generated

ในปัจจุบัน Cloud Computing ได้กลายเป็นเครื่องมือใหม่ที่ถูกแทนที่ได้ยากทั้งในด้านของธุรกิจหรือด้านอื่นๆ ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง เนื่องด้วยทั้งความยืดหยุ่นต่อความต้องการของผู้ใช้งาน ราคาที่ถูกกว่าการทำ Server แบบดั้งเดิม และสามารถปรับแต่งได้ง่าย จึงเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้ Cloud Computing เป็นที่ได้รับความสนใจเป็นอย่างมากในปัจจุบัน แต่นอกเหนือจาก ผู้ให้บริการอย่าง AWS, Azure หรือจะเป็น Google Cloud Platform ก็ยังมี Huawei Cloud ที่โดดเด่นขึ้นมาเทียบเท่ากับผู้ให้บริการที่กล่าวมาไม่แพ้กัน 

 

Huawei Cloud คืออะไร? 

Huawei Cloud คือ global cloud computing platform พัฒนาโดย Huawei บริษัทเทคโนโลยีชั้นนำในประเทศจีน ที่เปิดให้บริการต่างๆบนอินเทอร์เน็ตอย่างแพร่หลาย ไม่ว่าจะเป็นความต้องการขนาดเล็กของธุรกิจ Startup หรือองค์กรขนาดใหญ่ large enterprise หรืออาจจะเป็นเพียงแค่ความต้องการของผู้ใช้งานทั่วไป Huawei Cloud ก็สามารถรองรับได้ทั้งหมด

สิ่งที่ Huawei Cloud Computing ให้ได้กับผู้ใช้งาน

Huawei Cloud ได้มีการให้บริการต่างๆ มากกว่า 200 รายการแต่จะมีหัวข้อหลักๆ ที่สามารถแบ่งได้ 6 ส่วนดังนี้

Computing Services, AI & Big Data Services, Storage Services, Networking Services, Security Services and Application Services. โดยมีบริการที่เด่นชัด ได้แก่

1. Elastic Cloud Server (ECS) บริการการประมวลผลแบบตามความต้องการของผู้ใช้ สำหรับการเปิดให้บริการแอปพลิเคชันต่างๆ

- เป็น Server เสมือนที่ทำงานบนพื้นฐานโครงสร้างพื้นฐานของ Huawei Cloud โดยมีทรัพยากรที่สามารถปรับขยายได้ตามความต้องการของผู้ใช้.

- ประเภท Instance หลากหลาย Huawei Cloud ECS มี instances ที่ถูกออกแบบมาเพื่อให้บริการในงานต่างๆ เช่น computing-optimized, memory-optimized และ storage-optimized instances.

2. Object Storage Service (OBS) พื้นที่เก็บข้อมูล ใช้งานง่าย ปลอดภัยและรองรับ RESTful APIs.

- จัดเก็บข้อมูลในรูปแบบของ Object ซึ่งสามารถเป็นไฟล์, รูปภาพ, วิดีโอ  หรือข้อมูลอื่นๆ ได้.

3. Virtual Private Cloud (VPC) บริการให้ผู้ใช้งานสามารถจำลอง networks และ IP address, subnets แบบกำหนดเองได้ 

- ความสามารถในการสร้างเครือข่ายส่วนตัว VPC ช่วยให้ผู้ใช้สามารถสร้างเครือข่ายส่วนตัวที่เข้ารหัสและปลอดภัยภายใน Huawei Cloud.

- VPC ช่วยให้สามารถแยก Network  ออกจาก Network ของผู้ใช้คนอื่นๆ ทำให้มีความเป็นส่วนตัวและปลอดภัย.

- VPC สามารถกำหนด IP Address, Subnet, และ Security Group ในรูปแบบของผู้ใช้เองได้

4. Cloud Container Engine (CCE) ระบบบริหารจัดการ container ช่วยให้ผู้ใช้สามารถจัดการและปรับแต่งทรัพยากรที่ใช้งานโดยตรงสำหรับแอปพลิเคชัน.

5. Relational Database Service (RDS) บริการฐานข้อมูล

- รองรับหลายประเภทของฐานข้อมูลรวมถึง relational และ NoSQL databases.

- ให้บริการฐานข้อมูลที่ดูแลด้วยระบบเต็มรูปแบบเพื่อลดภาระการดำเนินการของผู้ใช้

6. Artificial Intelligence (AI) Services ปัญญาประดิษฐ์ของ Huawei ที่ใช้ใน Cloud computing ให้บริการชุดของบริการปัญญาประดิษฐ์รวมถึง machine learning และ natural language processing.

 

การเพิ่มประสิทธิภาพ ERP ด้วย Cloud Computing

การบริหารจัดการทรัพยากรธุรกิจด้วยระบบ Enterprise Resource Planning (ERP) เป็นสิ่งที่สำคัญสำหรับองค์กรในการเพิ่มประสิทธิภาพและการเติบโตอย่างยั่งยืน. การใช้ Cloud Computing เป็นเครื่องมือที่สามารถทำให้ระบบ ERP ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและยืดหยุ่นมากขึ้น ยกตัวอย่าง ดังนี้ 

1.ความยืดหยุ่นและประหยัดทรัพยากร

การใช้ ERP บน Cloud Computing ทำให้องค์กรสามารถปรับขนาดทรัพยากรตามความต้องการของธุรกิจได้อย่างง่ายโดยที่ไม่ต้องลงทุนในซอฟต์แวร์หรือฮาร์ดแวร์ในระยะยาว.

2. การเข้าถึงจากทุกที่

ผู้ใช้งานสามารถเข้าถึงข้อมูลและระบบ ERP จากทุกที่ที่มีการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต เป็นประโยชน์สำคัญสำหรับงานที่ต้องการทำงานร่วมกันจากระยะไกล

3. ความปลอดภัย

บริการ Cloud Computing มีมาตรการความปลอดภัยที่สูง การให้บริการ Server และข้อมูลผ่านทาง Cloud Computing จะมีการเข้ารหัสและมีการควบคุมการเข้าถึงที่เข้มงวด.

4. การ Updates และการบำรุงรักษา

การ Updates ซอฟต์แวร์ ERP และการบำรุงรักษาได้รับการจัดการโดยผู้ให้บริการ Cloud Computing จะช่วยให้องค์กรไม่ต้องใช้ทรัพยากรมนุษย์หรือเวลามากเกินไป ในการดูแลรักษา.

5. การแข่งขันในธุรกิจ

การใช้ ERP บน Cloud Computing ช่วยองค์กรในการเผชิญหน้ากับการแข่งขันในธุรกิจ ความสามารถในการปรับตัวและการทำงานได้อย่างรวดเร็วในสภาพแวดล้อมธุรกิจที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา.

สรุปได้ว่าการนำ Cloud Computing  มาใช้ร่วมกับ ERP ช่วยให้ธุรกิจสามารถเตรียมความพร้อมสำหรับการเปลี่ยนแปลงทางธุรกิจได้ดีขึ้น รวมทั้งยังสามารถช่วยลดความซับซ้อนในการบริหารจัดการ และเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานได้อีกด้วย.

 

ที่มา : HCIA - Huawei Cloud Services virtual training