1. Next Level process automation การยกระดับระบบอัตโนมัติ
การยกระดับระบบอัตโนมัติ คือการนำเอาระบบอัตโนมัติมาใช้งานร่วมกับภาคธุรกิจ ทั้งด้านการผลิต หรือด้านงานเอกสาร โดยหากกล่าวถึงความหมายของระบบอัตโนมัติ สามารถกล่าวได้ คือ “ระบบที่ทำงานผ่านการควบคุมจากระบบคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่สามารถทำงานได้ด้วยตัวเอง ตามโปรแกรมที่มนุษย์กำหนดขึ้นมา”
ในปัจจุบันก็มีการนำระบบอัตโนมัติมาปรับใช้กับงานในด้านต่าง ๆ มากขึ้น เพื่อช่วยในการทำงานให้เป็นไปอย่างราบรื่นและสะดวกมากขึ้น ยกตัวอย่าง เช่น
- หุ่นยนต์อัตโนมัติ ที่มีการนำมาใช้งานในภาคอุตสาหกรรมทั้งขนาดเล็กและขนาดใหญ่ ซึ่งหากมีความต้องการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและลดต้นทุนในระยะยาว ก็จำเป็นที่ต้องนำหุ่นยนต์เข้ามาใช้งาน เช่น หุ่นยนต์เชื่อม โดยสามารถทำงานได้แบบอัตโนมัติตามที่มีการตั้งค่าไว้ ซึ่งสามารถทำได้แม่นยำมากกว่ามนุษย์, หุ่นยนต์จัดเรียงสินค้าและวัสดุ ที่นำมาใช้งานเพื่อการประหยัดต้นทุนและสามารถทำงานได้ยาวนานกว่ามนุษย์ เป็นต้น
- RPA (Robotic Process Automation) หรือซอฟต์แวร์อัตโนมัติ ที่มีการทำ RPA Robot เข้ามาช่วยในการจัดการงานด้านเอกสาร การจัดการข้อมูลที่สามารถเชื่อมต่อกับ System หรือ Application ที่มีอยู่แล้วในองค์กรเพื่อให้อยู่ในรูปแบบอัตโนมัติ ที่ใช้กับงานที่เป็นงานที่ซ้ำๆ, งานที่ทำเป็นประจำ, งานที่ต้องตอบสนองอย่างรวดเร็ว, งานที่มีปริมาณมาก ๆ ก็สามารถนำ RPA มาใช้งานได้
การใช้งานERP ร่วมกับระบบอัตโนมัติ
การนำระบบอัตโนมัติเข้ามาใช้งานร่วมกับERP นั้น เพื่อช่วยให้การจัดการสามารถทำได้ง่ายและรวดเร็วมากขึ้น อีกทั้งสามารถช่วยลดข้อผิดพลาดการทำงานได้ดีกว่ามนุษย์ โดยระบบอัตโนมัติที่นำมาใช้ร่วมกับระบบERP เช่น RPA ที่สามารถช่วยจัดการกับข้อมูลจำนวนมาก หรืองานที่ต้องทำซ้ำๆ ในทุกๆวันที่อยู่ในระบบERP ยกตัวอย่าง การรับ/ส่ง E-mail กับลูกค้า โดยเมื่อมีคำสั่งซื้อจาก E-mail ของลูกค้า ระบบอัตโนมัติจะทำหน้าที่บันทึกข้อมูลลงใบเสนอราคาและออกใบเสนอราคาให้กับลูก หรือการกรอกข้อมูลเอกสาร ไม่ว่าจะเป็นเอกสารใบกำกับภาษี, เอกสารใบสั่งซื้อ หรือเอกสารการทำธุรกรรมต่าง ๆ ไปยังระบบERP ก็สามาถทำได้
2. Applied AI การประยุกต์ใช้หลักปัญญาประดิษฐ์
การประยุกต์ใช้หลักปัญญาประดิษฐ์ (AI) เข้ามาใช้ในการจัดการเครื่องมือ เครื่องจักรต่างๆ ให้สามารถรับรู้และสามารถดำเนินการตามรูปแบบได้อย่างเหมาะสม ซึ่งช่วยให้คอมพิวเตอร์สามารถทำงานได้เสมือนจริงมากยิ่งขึ้น โดยมีจุดเด่นคือ สามารถทำงานได้อย่างต่อเนื่อง มีความแม่นยำสูงและสามารถทำงานได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งปัญญาประดิษฐ์ถูกนำมาประยุกต์เพื่อการใช้งานในหลาย ๆ ด้านของภาคธุรกิจ ยกตัวอย่างเช่น
- ด้านการแพทย์ ที่มีการนำแขนกลเข้าไปช่วยการผ่าตัด ซึ่งการใช้แขนกลช่วยในการผ่าตัด เป็นการทำงานที่มีความปลอดภัยสูง และอยู่ภายใต้ความดูแลของแพทย์จึงเป็นการร่วมงานกันอย่างดีเยี่ยมระหว่างคนกับเครื่องจักรกล
- ด้านอุตสาหกรรม ช่วยลดภาระทางต้นทุนการผลิตทั้งในด้านงานบางประเภทที่อาจจะก่อให้เกิดอันตรายหรือมีความเสี่ยงสูงก็จะมีการนำ AI เข้ามาปฏิบัติงานแทนมนุษย์
- ด้านการขนส่งและการเดินทาง ที่มีการนำAI เข้าใช้ในการสร้าง รถยนต์ขับเคลื่อนอัตโนมัติ (self-driving car) หรือการนำAI มาช่วยในการจัดตารางการบินของสายการบินต่างๆ
- ด้านการบันเทิง โดยมีการนำAI เข้ามาช่ายในการสร้างภาพยนตร์ อนิเมชั่นต่างๆ เพื่ออำนวยความสะดวกและรวดเร็วในการสร้าง หรือการนำAI เข้าสู่หุ่นยนต์ทำให้สามารถโต้ตอบกับผู้ใช้งานได้
การใช้งาน ERP ร่วมกับปัญญาประดิษฐ์
ปัญญาประดิษฐ์(AI) ถือเป็นเทคโนโลยีที่ช่วยจัดการทำให้ระบบERP ทำงานได้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ทั้งในด้านบริการลูกค้า การจัดการสินค้าคงคลัง การเงิน หรือการจัดการทรัพยากรมนุษย์เป็นต้น AI สามารถเปลี่ยนรูปแบบการทำงานของระบบERP อีกด้วย ตัวอย่างเช่น งานบริการลูกค้า ที่มีการนำเอาปัญญาประดิษฐ์เข้ามาช่วยในระบบERP ที่ช่วยจัดการงานของลูกค้าให้สามารถทำงานได้รวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยเป็นเลือกเอาระบบ Chatbot ตอบคำถามต่างๆ ซึ่งสามารถทำงานได้ตลอด 24 ชั่วโมง อีกทั้งยังเป็นการลดภาระหน้าที่ให้กับพนักงานได้อีกด้วย นอกจากนี้AI ยังช่วยในการวิเคราะห์ข้อมูลในระบบERP ได้อีกด้วย เช่นการวิเคราะห์ความต้องการของลูกค้า หรือในด้านจัดการสินค้าคงคลังในระบบERP ก็มีการนำAIเข้ามาช่วยในการทำงาน ทำนายความต้องการของลูกค้า ทำนายจำนวนของสินค้าว่าควรมีเท่าไหร่จึงจะพอดี เห็นได้เลยว่าAI ได้เข้ามามีส่วนช่วยในการทำงานของระบบERP ให้สามารถทำงานได้มีความแม่นยำและมีประสิทธิเพิ่มมากขึ้น
3. Future of connectivity (อนาคตของการเชื่อมต่อ)
เทคโนโลยีการสื่อสารแบบไร้สายหรือที่เรียกกันว่า 5G ซึ่งจะไม่จำกัดแค่มือถือเท่านั้นแต่จะรวมไปถึง วัตถุ อุปกรณ์ พาหนะ สิ่งของเครื่องใช้ และสิ่งอำนวยความสะดวกในชีวิตประจำวัน ที่มนุษย์ได้มีการสร้างขึ้น โดยมีการฝังตัวของวงจรอิเล็กทรอนิกส์ ซอฟต์แวร์ หรือเซ็นเซอร์เอาไว้ เรียกสั้น ๆ ว่า IoT (Internet of Things) เมื่อนำ 2 สิ่งมาเชื่อมต่อกัน 5G จะช่วยให้ IoT เชื่อมต่อได้เร็วขึ้น เสถียรขึ้น ปลอดภัยยิ่งขึ้น และยังช่วยให้สามารถทำงานได้ดียิ่งขึ้น รวมไปถึงการส่งข้อมูลขนาดใหญ่จากการทำงานของ IoT ก็จะเป็นไปได้ง่ายมากขึ้นและการเชื่อมต่อการทำงานของ 5G และ IoT ที่เราจะได้ยินกันบ่อย ๆ อีกอย่างก็คือ Smart Home and Smart City
- Smart City คือการเชื่อมต่ออุปกรณ์ต่าง ๆ เพื่อให้ง่ายต่อการควบคุมเช่น ไฟจราจร การขนส่งสาธารณะ เป็นต้น
- Smart Home ก็คือการควบคุมอุปกรณ์ต่าง ๆ ภายในบ้านให้ควบคุมง่ายมากขึ้น เช่น เปิดปิด แอร์ ไฟ พัดลม ผ่านมือถือ เป็นต้น
การใช้งาน ERP ร่วมกับการเชื่อมต่อ
การเชื่อมต่อการทำงานระบบERP ร่วมกับอุปกรณ์อื่นๆ ช่วยทำให้การทำงานของระบบERP มีความสะดวกมากขึ้นทั้งในด้านเชื่อมต่อข้อมูลต่างๆ, การอ่านข้อมูล หรือการบันทึกข้อมูล ลงในระบบERP ก็สามารถทำได้ง่าย และสามรถลดข้อผิดพลาดที่เกิดจากมนุษย์ได้อีกด้วย ตัวอย่าง การเชื่อมต่อระบบERP เข้ากับเครื่องแสกนbarcode ที่สามารถทำการบันทึกข้อมูลของสินค้า เช่น ชื่อสินค้า วันที่ผลิตสินค้า วันหมดอายุของสินค้าลงในระบบERP ได้ และสามารถค้นหารายการของสินค้าในระบบERP ได้ง่ายจากการแสกน barcode นอกจากนี้ระบบERP สามารถทำงานร่วมกับApplicationบนมือถือ เพื่อให้สามารถตรวจสอบข้อมูลหรือทำงานได้ตลอดเวลา ระบบERP ที่สามารถทำงาร่วมApplication บนโทรศัพท์มือถือได้อย่างเช่น Software ERP SAP Business One หรือ SAP B1 ที่เป็นซอฟต์แวร์ระบบERP ที่สามารถทำงานได้แบบRealtime และสามารถทำงานได้ในApplication บนโทรศัพท์มือถือได้ โดย SAP Business One ถือเป็นซอฟต์แวร์ERP ที่มีประสิทธิภาพเหมาะสำหรับการทำงานในภาคอุตสาหกรรม ธุรกิจขนาดเล็กและขนาดกลาง อีกทั้งยังถือเป็น ERP Digitalized Platform ที่ช่วยบริหารธุรกิจในองค์กรได้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
4. Distribute infrastructure (การกระจายโครงสร้างพื้นฐาน)
การประมวลผลแบบ Cloud และ Edge เป็นโครงสร้างพื้นฐานด้านไอทีที่ช่วยให้การทำงานของระบบมีความพร้อมในการใช้งาน และมีประสิทธิภาพในการเข้าถึงข้อมูลได้เป็นวงกว้าง
- Cloud Computing คือการบริการที่ให้ใช้กำลังการประมวลผล หน่วยจัดเก็บข้อมูล และระบบออนไลน์ต่าง ๆ จาก ผู้ให้บริการ เพื่อลดความยุ่งยากในการติดตั้ง ดูแลระบบ ช่วยประหยัดเวลา และลดต้นทุนในการสร้างระบบคอมพิวเตอร์ โดยเครือข่ายเองก็มีทั้งแบบบริการฟรีและแบบเก็บเงิน ซึ่งปัจจุบันในการทำงานด้านไอทีหลายอย่างไม่ว่าจะเป็นโปรแกรม แอพพลิเคชั่นต่าง ๆ ก็นิยมนำมาใช้งานบนระบบ cloud
- Edge computing คือ แนวคิดในการประมวลผลใกล้กับแหล่งกำเนิดข้อมูล แทนที่การส่งข้อมูลทั้งหมดไปประมวลผลที่ Cloud โดยตำแหน่งการประมวลผลของEdge สามารถเป็นได้ตั้งแต่ อุปกรณ์ IoT จนสามารถถึงชั้นบนสุดนั่นก็คือ Local Area Network (LAN) ตัวอย่างเช่น อุปกรณ์เกตเวย์เซิร์ฟเวอร์ของสำนักงานหรือโรงงาน เป็นต้น และเมื่อยุคนี้เป็นยุคของ IoT Cloud ที่กลายมาเป็นศูนย์กลางของทุกอย่างไม่ว่าจะเป็นการเชื่อมต่อ การเก็บข้อมูล และการประมวลผล พร้อมทั้งยังก็มีการนำ Edge ที่เป็นองค์ประกอบจำเป็นของ IoT ที่จะมาช่วยเติมเต็มการทำงานของ Cloud ทำให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
การใช้งาน ERP ร่วมกับระบบ Cloud และ Edge
การใช้งานระบบERP บนCloud คือการจัดเก็บข้อมูลในบนระบบCloud เพื่อให้ทุกคนในองค์กรสามารถทำงานร่วมกันได้ทุกคน และสามารถเข้าถึงได้ทุกอุปกรณ์และในทุกที่ โดยอาศัยการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตในการเชื่อมต่อ การใช้ERP บนCloud สามารถเข้าถึงข้อมูลได้แบบRealtime ซึ่งข้อมูลที่ได้นั้นจะมีความใหม่อยู่เสมอ ซึ่งข้อดีของการมีระบบERP บนCloud คือมีค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาน้อยลงและสามารถประหยัดพลังงานได้มากขึ้น เข้าถึงข้อมูลได้แบบRealtime ใช้เวลาน้อยลงในการอัพเกรดและการสำรองข้อมูล มีตัวเลือกให้ใช้งานเพิ่มเติมเข้าถึงได้ง่ายและรวดเร็ว โดยระบบERP ที่สามารถทำงานบนCloud ได้ อย่างเช่น Sage 300 Online ซึ่งเป็นระบบERP Sage 300 ในรูปแบบ Cloud Based ERP ที่ครอบคุมการบริหารจัดการในด้านต่างๆ ให้ข้อมูลแบบRealtime สามารถทำงานได้ทุกที่ ทุกเวลา เหมาะสำหรับธุรกิจที่มีขนาดกลาง โดยระบบERP Sage 300 Online นั้นเป็นบริการแบบให้เช่าใช้รายปี
5. Future of programming (อนาคตของการเขียนโปรแกรม)
ซอฟต์แวร์ 2.0 คือ การสร้างรหัสแอปพลิเคชันโดยอัตโนมัติจากข้อกำหนดทางธุรกิจ ความก้าวหน้าในการเรียนรู้เชิงลึก (Deep Learning) ที่เป็นหนึ่งในฟังก์ชันของปัญญาประดิษฐ์ (AI) ที่เลียนแบบการทำงานของสมองมนุษย์ในกระบวนการประมวลผลข้อมูลและสามารถสร้างโครงข่ายประสาทเทียมซึ่งจะทำให้คำสั่งและเขียนโค้ดเป็นไปโดยอัตโนมัติรวมไปถึงการสร้างวิธีการใหม่ในการเขียนซอฟต์แวร์และลดความซับซ้อน อย่างไรก็ตาม ในขณะที่บริษัทต่างๆ มองหาการขยายขีดความสามารถในการพัฒนาซอฟต์แวร์ พวกเขาจะต้องเชี่ยวชาญในแนวทางปฏิบัติและเทคโนโลยีของ DataOps และ MLOps5 เพื่อสร้างประโยชน์สูงสุดให้กับอนาคตของการเขียนโปรแกรมและกำลังจะมีการสร้างซอฟต์แวร์ที่มีโมเดล AI/ML ฝังอยู่ภายใน แต่เมื่อพูดถึง Machine Learning เรามักพูดกันแค่เรื่องการทำโมเดล แต่ในทางปฏิบัติแล้ว ยังมีประเด็นอื่น ๆ อีกมาก ตั้งแต่การตีโจทย์ธุรกิจ การทำความสะอาดข้อมูล การตรวจสอบยืนยันความถูกต้องของโมเดล ฯลฯ ซึ่งกระบวนการทั้งหมดเราเรียกว่า MLOps หรือ Machine Learning Operation ที่เราต้องมีเพื่อช่วยในการพัฒนาซึ่งเป็นศัพท์ที่ Microsoft และ Google ใช้ และ DataOps (การดำเนินการข้อมูล) หมายถึงแนวทางปฏิบัติที่นำความเร็วและความคล่องตัวมาสู่กระบวนการไปป์ไลน์ข้อมูลแบบ end-to-end ตั้งแต่การรวบรวมจนถึงการส่งมอบเมื่อมีการนำสองสิ่งมาทำงานร่วมกันก็จะสามารถทำให้อนาคตในการเขียนโปรแกรมมีประโยชน์สูงสุดอีกด้วย
การใช้งาน ERP รวมกับการเขียนโปรแกรม
ซอฟต์แวร์ 2.0 จะเข้ามาช่วยสร้างวิธีการเขียนโปรแกรมในรูปแบบใหม่ โดยจะลดความซับซ้อนของสิ่งที่เกิดขึ้นจากการเขียนโปรแกรม โดยระบบERP Software ในปัจจุบันหลายๆบริษัทเริ่มให้ความสนใจมากขึ้น และทำให้มีการใช้ระบบ ERP Software ภายในองค์กรหรือบริษัท เพราะข้อมูลภายในบริษัทสามารถเป็นมาตรฐานเดียวกันได้ การเข้าถึงข้อมูล การเรียกใช้ หรือการแก้ไขข้อมูลในระบบ ERP Software เมื่อพบปัญหาก็จะสามารถแก้ไขปัญญาได้ตรงจุดและรวดเร็ว โดยการนำ ERP Software เข้ามาช่วยในการบริหารจัดการธุรกิจ ได้ 2 วิธี คือ วิธีแรกการเลือกใช้ ERP Software เพียงรายเดียว ซึ่งทำให้สามารถใช้งานร่วมกันได้อย่างราบรื่น แต่ขาดความยืดหยุ่นในการใช้งาน และวิธีที่2 การเลือกใช้ ERP Software ของแต่ละงานจากผู้ผลิตที่แต่ที่แตกต่างกัน ซึ่งการเลือกใช้ ERP Software รูปแบบนี้ ทำให้ได้ระบบERP ที่เหมาะสมกับงานนั้นๆมีความยืดหยุ่นในการใช้งาน แต่หากจะนำมาทำงานร่วมกันจะเกิดความซับซ้อน ข้อดีจากการเลือกใช้ ERP Software คือ ทำให้ทุกหน่วยงานในองค์กรสามารถสื่อสารถึงกันได้ ข้อมูลเป็นมาตรฐานเดียวกัน การเข้าถึงข้อมูลในส่วนต่างๆทำได้ง่าย แต่มีข้อเสียคือ ERP Software นั้นมีราคาที่แพงและต้องอาศัยความเข้าใจในการใช้งานระบบซึ่งจำเป็นต้องมีการฝึกอบรมเกี่ยวระบบ ERP Software